วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการและเหตุผล
                          
                เมื่อพูดถึงผู้สูงอายุมักจะมีความคิดถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอะไรทำ ว่างงาน อยู่เฉยๆ หรือกลุ่มคนที่มีหน้าที่เฝ้าบ้าน ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และนอนหลับกลางวันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวยังไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุยังมีความต้องการที่จะทำให้ชีวิตของตนมีความสดชื่นมีชีวิตชีวาและมีประโยชน์มากขึ้น เช่น การพบปะพูดคุยกันในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน การทำสวน ปลูกต้นไม้และการทำงานอดิเรกต่างๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ชีวิตตนร่วมกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของตนเอง มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ช่วยทำหน้าที่เลี้ยงดูหลานและคอยให้คำแนะนำ ตลอดจนช่วยเหลือเมื่อครอบครัวตน  ประสบปัญหาในด้านต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีผู้สูงอายุบางกลุ่มที่มีความคิดที่จะอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมของตนเองด้วย
              สังคมไทยยกย่องบุคคลที่มีความกตัญญู การเลี้ยงดูบุพการี เป็นสิริมงคล อันทุกคนควรปฏิบัติ จึงทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ร่วมกับบุตรหลาน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ที่ต่างก็ได้เรียนรู้และปรับตัวให้อยู่ด้วยกันได้ ้โดยมีปัญหาน้อยที่สุด  ผู้สูงอายุที่อยู่กับบุตรหลานตลอดก็ไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก แต่ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง เพราะบุตรหลานแยกครอบครัวออกไป หากต้องกลับไปอยู่กับบุตรหลานในบั้นปลายชีวิต จะต้องปรับตัวเองอย่างมากกับการผจญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ หลายประการ เช่น สถานที่ ระเบียบวินัย จำทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้สูงอายุ ไม่มากก็น้อยแน่นอน

คำนิยาม คำจำกัดความต่างๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
ในองค์กรสหประชาชาติ 
                ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
ภาคภาษาไทย
                ผู้สูงอายุ หมายถึง เอาอายุเป็นหลักในการเรียก ( 60+ปี )
                คนชรา หมายถึง เอาลักษณะทางกายภาพเป็นหลักในการเรียก
                ผู้อาวุโส หมายถึง เอาสถานภาพทางราชการ แก่กว่า เก่ากว่า เป็นหลักในการ
 ภาคภาษาอังกฤษ
                วิทยาการว่าด้วยผู้สูงอายุ เรียกว่า Gerontology
                วิทยาการด้านการแพทย์ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เรียกว่า Geritics medicine
                ในองค์กรสหประชาชาติ ตกลงใช้คำว่า older persons
                มีคำหลายคำ ใช้เป็นสรรพนามเรียกผู้สูงอายุ เช่น Aging,Elderly,older person,Senior Citizen สุดแต่จะใช้  etc.
ในสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
                ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น และผู้สูงอายุตอนปลาย
                                - ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง
                                - ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง
                อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หมายถึง จำนวนปีทีบุคคลหนึ่งเมื่อเกิดมาแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งตาย
                อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง จำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกระทั่งตาย

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องผู้สูงอายุ
               

                ฐานข้อมูลผู้สูงอายุของสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้รวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุ (60ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2503-2533 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2533-2563 ของกองวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
              วัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลผู้สูงอายุนี้ มีวัตถุประสงค์จะรวบรวมข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศไทย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปีสิ้นสุดของการคาดประมาณ เพื่อแสดงแนวโน้มของการเพิ่มประชากรสูงอายุ
              ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้สูงอายุนี้แสดงให้เห็นว่า ประชากรสูงอายุของประเทศไทยในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2503-2533 มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งในแง่จำนวนและสัดส่วนต่อประชากรทั้งประเทศ ในปี พ.ศ. 2503 ประชากรสูงอายุมีจำนวน 1.2 ล้านคนหรือร้อยละ 4.6 ของประชากรทั้งประเทศ และมีเพิ่มขึ้นทุกช่วงเวลาต่อมา คือในปี พ.ศ. 2513 เพิ่มเป็น 1.9 ล้านคนหรือร้อยละ 5.0 ในปี พ.ศ. 2523 เพิ่มเป็น 2.5 ล้านคนหรือร้อยละ 5.5 และในปี พ.ศ. 2533 เพิ่มเป็นจำนวน 4.0 ล้านคนหรือร้อยละ 7.4 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ประชากรสูงอายุเพศหญิงเพิ่มจำนวนและสัดส่วนสูงขึ้นมากกว่าประชากรสูงอายุเพศชาย โดยที่อัตราร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงสูงกว่าประชากรสูงอายุเพศชายร้อยละ 0.8-1.0
              ในอนาคตจำนวนและสัดส่วนของประชากรสูงอายุประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องมาจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น สถิติข้อมูลจากการคาดประมาณประชากรแสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2538 ประชากรสูงอายุชายจะเพิ่มเป็น 4.8 ล้านคนหรือร้อยละ 8.11 ในปี พ.ศ. 2543 จะเพิ่มเป็น 5.7 ล้านคนหรือร้อยละ 9.19 ในปี พ.ศ. 2548 เพิ่มเป็น 6.6 ล้านคนหรือร้อยละ 10.2 และแนวโน้มในปีพ.ศ. 2553 ประชากรสูงอายุของประเทศไทยจะเพิ่มเป็น 7.6 ล้านคนหรือร้อยละ 11.4 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ประชากรสูงอายุเพศหญิงจะมีจำนวนและร้อยละที่สูงกว่าประชากรสูงอายุเพศชาย โดยมีความแตกต่างอยู่ร้อยละ 1.2-1.9
                ข้อมูลดังกล่าวนอกจากจะแสดงให้เห็นว่า จำนวนและอัตราร้อยละของประชากรสูงอายุของประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าค่าความแตกต่างระหว่างร้อยละของประชากรสูงอายุเพศหญิงและเพศชายเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าประชากรสูงอายุเพศหญิง มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าประชากรสูงอายุเพศชาย ทั้งนี้เนื่องมาจากอายุขัยเฉลี่ยของประชากรเพศหญิงยืนยาวกว่าประชากรเพศชาย

สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2538 – 2553 ( ข้อมูลจากตาราง )
             สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538-2553 สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2538 2553 ( กราฟข้อมูล )
จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ และอัตราส่วนเพศทั่วราชอาณาจักร ( คลิกดูข้อมูลได้เลยค่ะ )      
             สรุปสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538-2553 จำแนกตามเพศทั่วราชอาณาจักร  ( คลิกดูข้อมูลได้เลยค่ะ )     

1)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 25382553 ประชากรผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด

                 กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 ประชากรผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด จากกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งจะพบว่าประชากรในประเทศไทยมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุ เส้นกราฟสีน้ำเงิน ก็พบว่าจำนวนผู้สูงอายุก็มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปีเช่นกัน

 2)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ

             

                กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ จากกราฟแท่งสีเขียวแทนจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด กราฟเส้นสีฟ้า แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิง และกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศชาย              ซึ่งพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงจะมี สัดส่วนที่มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายในทุกๆปี กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 25382553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ จากกราฟแท่งสีเขียวแทนจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด กราฟเส้นสีฟ้า แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิง และกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศชายโดยพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงจะมี สัดส่วนที่มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายในทุก ๆ ปี ดังนี้
                                ในปี 2538 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 360,000 คน
                                ในปี 2543 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 459,000 คน
                                ในปี 2548 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 573,000 คน
                                ในปี 2553 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 685,000 คน

3)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ  ( คิดเป็นร้อยละ )
                3.1          กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศชาย             ( คิดเป็นร้อยละ )


                3.2          กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศหญิง           ( คิดเป็นร้อยละ )
               


4)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุในแต่ละช่วง และจำนวนของผู้สูงอายุในแต่ละปี

                กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุในแต่ละช่วง และจำนวนของผู้สูงอายุในแต่ละปี
                จากกราฟเส้นสีฟ้า แทนช่วงอายุในช่วง 60 – 64 ปี กราฟเส้นสีแดง แทนช่วงอายุในช่วง 65 – 69 ปี กราฟเส้นสีเขียว แทนช่วงอายุ 70 – 74 ปี และกราฟเส้นสีม่วง แทนอายุในช่วง 75 ปีขึ้นไป
                โดยพบว่าผู้สูงอายุ ในช่วง 60 – 64 ปี ( กราฟเส้นสีฟ้า ) มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าในช่วงอายุอื่นๆ แต่ ผู้สูงอายุ ในช่วง 74 – 74 ปี ( กราฟเส้นสีเขียว ) และช่วง 75 ปีขึ้นไป ( กราฟเส้นสีม่วง ) มีสัดส่วนของผู้สูงอายุจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน

จากการลงพื้นที่ภาคสนาม
ผู้ให้สัมภาษณ์      นางคำผอง ปาละวงศ์
อายุ                         70 ปี
บ้านเลขที่              169 หมู่ 1 ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 49110
                                ข้าพเจ้าได้ศึกษากิจวัตรประจำวันของยายคำผอง เนื่องจากท่านเป็นยายของข้าพเจ้าเอง
กิจวัตรประจำวันของยายคำผอง ตื่นเช้ามายายก็มานึ่งข้าว รอใส่บาตร จากนั้นก็จะอาบน้ำแต่งตัวไปวัด หลังจากกลับมาจากวัด ยายก็จะเปลี่ยนชุดไปสวน ปลูกผัก ซึ่งยายจะทำกิจกรรมแบบนี้เหมือนกันในทุก ๆ วัน ยายคำผองเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว
                                สิ่งที่ยายคำผองต้องการก็คือ อยากให้รัฐบาลเพิ่มเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 500 บาท เป็น 1,000 บาท เพราะยายคำผองต้องการเอาเงินส่วนนี้ไปทำบุญ

สรุป
                วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป
                ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
                ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก
                นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
                อารมณ์และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ อาจเกิดมาจากมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม
นอกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
                จากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพ หลาย ๆ โรคพร้อมกัน

ข้อเสนอแนะ
                -              ควรบริการให้ความรู้กับผู้สูงอายุและการเตรียมการสำหรับผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ
                -              ควรส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวให้มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ
                -              ควรมีการจัดโครงการส่งเสริมค่านิยมการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ ( ลดรายจ่าย )  ในชุมชน  ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกเพศวัย  เนื่องจากการเกิดสวัสดิการในชุมชนต้องดำเนินการ  โดยประชาชนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของการมีระบบสวัสดิการในชุมชน  และจะสามารถเตรียมผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต
                -              ควรมีการพัฒนากฎหมายและมาตรการแนวทางในการคุ้มครองสวัสดิการภาพของผู้สูงอายุให้มีผลบังคับใช้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                -              ควรดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดสวัสดิการสังคมในชุมชน  ควรจะต้องมีโครงการหรือกิจกรรมที่เน้นการรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึก  เกิดความตระหนักในการเป็นเจ้าของและดูแลชุมชนของตนเพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในชุมชน
                -              ควรมีการดูแลระยะยาวและการแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้รูปแบบและขนาดของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันภาวะการเจ็บป่วยและพิการของผู้สูงอายุก็มีมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านการดูแลระยะยาว และการขาดแคลนผู้ดูแล จึงมีการเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ เร่งจัดทำนโยบาย แผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นทางการ

ศึกษาข้อมูลจาก
                วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.cps.chula.ac.th/pop_info/thai/nop7/n71.html  
                        สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เรียนรู้จากผู้สูงอายุได้
โยคะสำหรับผู้สูงอายุ
                                                                                          โรคตาในผู้สูงอายุ