วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2538 – 2553 ( ข้อมูลจากตาราง )
             สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538-2553 สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2538 2553 ( กราฟข้อมูล )
จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ และอัตราส่วนเพศทั่วราชอาณาจักร ( คลิกดูข้อมูลได้เลยค่ะ )      
             สรุปสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวนและร้อยละของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538-2553 จำแนกตามเพศทั่วราชอาณาจักร  ( คลิกดูข้อมูลได้เลยค่ะ )     

1)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 25382553 ประชากรผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด

                 กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 ประชากรผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด จากกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งจะพบว่าประชากรในประเทศไทยมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุ เส้นกราฟสีน้ำเงิน ก็พบว่าจำนวนผู้สูงอายุก็มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปีเช่นกัน

 2)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ

             

                กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ จากกราฟแท่งสีเขียวแทนจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด กราฟเส้นสีฟ้า แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิง และกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศชาย              ซึ่งพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงจะมี สัดส่วนที่มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายในทุกๆปี กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 25382553 โดยจำแนกตามอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และจำแนกตามเพศ จากกราฟแท่งสีเขียวแทนจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด กราฟเส้นสีฟ้า แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิง และกราฟเส้นสีแดง แทนจำนวนผู้สูงอายุเพศชายโดยพบว่าจำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงจะมี สัดส่วนที่มากกว่าผู้สูงอายุเพศชายในทุก ๆ ปี ดังนี้
                                ในปี 2538 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 360,000 คน
                                ในปี 2543 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 459,000 คน
                                ในปี 2548 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 573,000 คน
                                ในปี 2553 จำนวนผู้สูงอายุเพศหญิงมีมากกว่าเพศชายถึง 685,000 คน

3)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศ  ( คิดเป็นร้อยละ )
                3.1          กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศชาย             ( คิดเป็นร้อยละ )


                3.2          กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามกลุ่มอายุช่วง 60 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศหญิง           ( คิดเป็นร้อยละ )
               


4)            กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุในแต่ละช่วง และจำนวนของผู้สูงอายุในแต่ละปี

                กราฟข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2538 – 2553 โดยจำแนกตามอายุในแต่ละช่วง และจำนวนของผู้สูงอายุในแต่ละปี
                จากกราฟเส้นสีฟ้า แทนช่วงอายุในช่วง 60 – 64 ปี กราฟเส้นสีแดง แทนช่วงอายุในช่วง 65 – 69 ปี กราฟเส้นสีเขียว แทนช่วงอายุ 70 – 74 ปี และกราฟเส้นสีม่วง แทนอายุในช่วง 75 ปีขึ้นไป
                โดยพบว่าผู้สูงอายุ ในช่วง 60 – 64 ปี ( กราฟเส้นสีฟ้า ) มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าในช่วงอายุอื่นๆ แต่ ผู้สูงอายุ ในช่วง 74 – 74 ปี ( กราฟเส้นสีเขียว ) และช่วง 75 ปีขึ้นไป ( กราฟเส้นสีม่วง ) มีสัดส่วนของผู้สูงอายุจะมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน

จากการลงพื้นที่ภาคสนาม
ผู้ให้สัมภาษณ์      นางคำผอง ปาละวงศ์
อายุ                         70 ปี
บ้านเลขที่              169 หมู่ 1 ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 49110
                                ข้าพเจ้าได้ศึกษากิจวัตรประจำวันของยายคำผอง เนื่องจากท่านเป็นยายของข้าพเจ้าเอง
กิจวัตรประจำวันของยายคำผอง ตื่นเช้ามายายก็มานึ่งข้าว รอใส่บาตร จากนั้นก็จะอาบน้ำแต่งตัวไปวัด หลังจากกลับมาจากวัด ยายก็จะเปลี่ยนชุดไปสวน ปลูกผัก ซึ่งยายจะทำกิจกรรมแบบนี้เหมือนกันในทุก ๆ วัน ยายคำผองเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว
                                สิ่งที่ยายคำผองต้องการก็คือ อยากให้รัฐบาลเพิ่มเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 500 บาท เป็น 1,000 บาท เพราะยายคำผองต้องการเอาเงินส่วนนี้ไปทำบุญ

สรุป
                วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป
                ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
                ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก
                นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
                อารมณ์และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ อาจเกิดมาจากมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม
นอกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
                จากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพ หลาย ๆ โรคพร้อมกัน

ข้อเสนอแนะ
                -              ควรบริการให้ความรู้กับผู้สูงอายุและการเตรียมการสำหรับผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ
                -              ควรส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวให้มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ
                -              ควรมีการจัดโครงการส่งเสริมค่านิยมการใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการผู้สูงอายุ ( ลดรายจ่าย )  ในชุมชน  ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกเพศวัย  เนื่องจากการเกิดสวัสดิการในชุมชนต้องดำเนินการ  โดยประชาชนในชุมชนให้เห็นความสำคัญของการมีระบบสวัสดิการในชุมชน  และจะสามารถเตรียมผู้ที่จะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต
                -              ควรมีการพัฒนากฎหมายและมาตรการแนวทางในการคุ้มครองสวัสดิการภาพของผู้สูงอายุให้มีผลบังคับใช้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                -              ควรดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดสวัสดิการสังคมในชุมชน  ควรจะต้องมีโครงการหรือกิจกรรมที่เน้นการรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึก  เกิดความตระหนักในการเป็นเจ้าของและดูแลชุมชนของตนเพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในชุมชน
                -              ควรมีการดูแลระยะยาวและการแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ดูแล ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้รูปแบบและขนาดของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงไป ขณะเดียวกันภาวะการเจ็บป่วยและพิการของผู้สูงอายุก็มีมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้านการดูแลระยะยาว และการขาดแคลนผู้ดูแล จึงมีการเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ เร่งจัดทำนโยบาย แผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นทางการ

ศึกษาข้อมูลจาก
                วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 http://www.cps.chula.ac.th/pop_info/thai/nop7/n71.html  
                        สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เรียนรู้จากผู้สูงอายุได้
โยคะสำหรับผู้สูงอายุ
                                                                                          โรคตาในผู้สูงอายุ




                        
               


                 

1 ความคิดเห็น: