วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หลักการและเหตุผล
                          
                เมื่อพูดถึงผู้สูงอายุมักจะมีความคิดถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอะไรทำ ว่างงาน อยู่เฉยๆ หรือกลุ่มคนที่มีหน้าที่เฝ้าบ้าน ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ และนอนหลับกลางวันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวยังไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุยังมีความต้องการที่จะทำให้ชีวิตของตนมีความสดชื่นมีชีวิตชีวาและมีประโยชน์มากขึ้น เช่น การพบปะพูดคุยกันในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน การทำสวน ปลูกต้นไม้และการทำงานอดิเรกต่างๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ชีวิตตนร่วมกับบุคคลกลุ่มต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวของตนเอง มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ช่วยทำหน้าที่เลี้ยงดูหลานและคอยให้คำแนะนำ ตลอดจนช่วยเหลือเมื่อครอบครัวตน  ประสบปัญหาในด้านต่างๆ นอกจากนั้น ยังมีผู้สูงอายุบางกลุ่มที่มีความคิดที่จะอุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมของตนเองด้วย
              สังคมไทยยกย่องบุคคลที่มีความกตัญญู การเลี้ยงดูบุพการี เป็นสิริมงคล อันทุกคนควรปฏิบัติ จึงทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ร่วมกับบุตรหลาน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ที่ต่างก็ได้เรียนรู้และปรับตัวให้อยู่ด้วยกันได้ ้โดยมีปัญหาน้อยที่สุด  ผู้สูงอายุที่อยู่กับบุตรหลานตลอดก็ไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก แต่ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง เพราะบุตรหลานแยกครอบครัวออกไป หากต้องกลับไปอยู่กับบุตรหลานในบั้นปลายชีวิต จะต้องปรับตัวเองอย่างมากกับการผจญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ หลายประการ เช่น สถานที่ ระเบียบวินัย จำทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้สูงอายุ ไม่มากก็น้อยแน่นอน

คำนิยาม คำจำกัดความต่างๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ
ในองค์กรสหประชาชาติ 
                ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
ภาคภาษาไทย
                ผู้สูงอายุ หมายถึง เอาอายุเป็นหลักในการเรียก ( 60+ปี )
                คนชรา หมายถึง เอาลักษณะทางกายภาพเป็นหลักในการเรียก
                ผู้อาวุโส หมายถึง เอาสถานภาพทางราชการ แก่กว่า เก่ากว่า เป็นหลักในการ
 ภาคภาษาอังกฤษ
                วิทยาการว่าด้วยผู้สูงอายุ เรียกว่า Gerontology
                วิทยาการด้านการแพทย์ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เรียกว่า Geritics medicine
                ในองค์กรสหประชาชาติ ตกลงใช้คำว่า older persons
                มีคำหลายคำ ใช้เป็นสรรพนามเรียกผู้สูงอายุ เช่น Aging,Elderly,older person,Senior Citizen สุดแต่จะใช้  etc.
ในสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
                ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง ซึ่งในการศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่ง ผู้สูงอายุเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น และผู้สูงอายุตอนปลาย
                                - ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง
                                - ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง
                อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หมายถึง จำนวนปีทีบุคคลหนึ่งเมื่อเกิดมาแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งตาย
                อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง จำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกระทั่งตาย

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องผู้สูงอายุ
               

1 ความคิดเห็น: